สรุปข้อมูล IPO หุ้น BGC ขวดแก้ว “หมื่นล้าน”
ลงทุนในหุ้นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วที่ใหญ่ที่สุดในไทย “BGC“ ในเครือบางกอกกล๊าส
ในแต่ละปี BGC มีรายได้มากกว่าหนึ่งหมื่นล้านจากการผลิตบรรจุภัณฑ์แก้ว ลูกค้ารายใหญ่ของ BGC ก็คือกลุ่มบุญรอด ผู้ผลิตเบียร์สิงห์ เบียร์ลีโอที่เรารู้จักกันดีนี่เอง
นอกจากในเครือบุญรอดแล้ว BGC ยังผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วให้กับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีสินค้าชื่อดังอีกมากมาย
ถือเป็นหุ้นอีกตัวหนึ่งที่มีความ Defensive ไม่น้อย เพราะขายสินค้าให้กับบริษัทที่ผลิต และจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่คนไทยดื่มกินกันเป็นประจำ
BGC เข้าตลาดหุ้นครั้งนี้ต้องการระดมทุนไปสร้างโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วใหม่
หุ้น BGC น่าสนใจอย่างไร ไปติดตามกันได้ที่สรุปหุ้น BGC กันครับ 🙂
แอดมิน Buffettcode feat. BGC ขวดแก้วหมื่นล้าน!
หุ้น BGC หรือบริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด(มหาชน)
เป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (1) และเป็นบริษัทในเครือบางกอกกล๊าสหรือ BG นั่นเอง
โดยบางกอกกล๊าสปัจจุบันถือหุ้นร้อยละ 99.9% ของ BGC และจะถือหุ้นร้อยละ 72% ของ BGC ภายหลังการ IPO (2)
ที่มา: (1) พิจารณาตามกำลังการผลิตรวม ข้อมูลจาก GlobalData Plc.
(2) ข้อมูลจากแบบแสดงรายการข้อมูลของบริษัท บีจีคอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน)
BGC มีสัดส่วนของกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วรวมแล้วสูงถึง 39% ของทั้งอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์แก้วที่มีกำลังการผลิตรวม 8,700 ตัน/วัน เป็นอุตสาหกรรมที่มีผู้เล่นขนาดใหญ่เพียงไม่กี่ราย โดยผู้ผลิตสามรายใหญ่สุดมีกำลังการผลิตรวมกัน 89% ของกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วในไทยทั้งหมด
ที่มา: GlobalData Plc.
ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯถูกใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันไปเช่น เบียร์, เครื่องดื่ม, อาหาร, ยาฆ่าแมลง, เครื่องดื่มให้พลังงาน และสุรา
ที่มา: แบบแสดงรายการข้อมูลของบริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน)
โดยหลักแล้ว BGC มีรายได้จากการขายบรรจุภัณฑ์แก้วสำหรับบรรจุเครื่องดื่ม เป็นสัดส่วนกว่า 80%
ในปี 2560 รายได้สามารถแบ่งเป็นรายได้จากการขาย
-เบียร์ 37.3%
-เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 34.6%
-อาหาร 7.1%
-ยาฆ่าแมลงและยา 1.2%
-ขวดประเภทอื่นๆและส่งออก 17.5%
-รายได้จากการขายอื่นๆ 1.1%
-รายได้อื่นๆ 1.1%
ที่มา: แบบแสดงรายการข้อมูลของบริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน), สัดส่วนรายได้งวด 6 เดือนแรกของปี 2561
BGC ได้ประโยชน์จากการเป็นซัพพลายเออร์ให้เครือบุญรอดฯ เพราะบุญรอดฯ มี Market share ของตลาดเครื่องดื่มเบียร์เป็นเบอร์ 1 ของประเทศไทย ลีโอกับสิงห์รวมกันมี Market share เกินครึ่งที่ 58.4%
ที่มา: แบบแสดงรายการข้อมูลของบริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน), GlobalData Plc., ส่วนแบ่งการตลาดปี 2559
BGC เป็นซัพพลายเออร์บรรจุภัณฑ์แก้วแต่เพียงรายเดียวของเครือบุญรอดฯ ด้วย เพิ่งเซ็นสัญญา 5 ปีซึ่งจะหมดสัญญาปี 2565
ยอดขายจากเครือบุญรอดฯ คิดเป็น 58.5% ของยอดขายทั้งบริษัท ในงวด 6 เดือนแรกของปี 2561
ที่มา: แบบแสดงรายการข้อมูลของบริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน), ส่วนแบ่งการตลาดปี 2559
ข้อดีของการใช้บรรจุภัณฑ์แก้วมีหลายข้อด้วยกันแต่หลักๆ มี 3 ข้อคือ
1.ภาพลักษณ์ที่ดี สินค้าที่ใส่ในบรรจุภัณฑ์แก้วดูสวยงาม มีราคาสูง และมีคุณภาพดีกว่าบรรจุภัณฑ์ชนิดอื่นๆ
2.บรรจุภัณฑ์แก้วมีความปลอดภัยและมีแนวโน้มที่จะทำปฏิกิริยาเคมีน้อยกว่าบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่นๆ
3.สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ที่มา: แบบแสดงรายการข้อมูลของบริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน), GlobalData Plc.
บรรจุภัณฑ์แก้วมีการเติบโตที่ดี จากข้อมูลของ GlobalData Plc. คาดว่าตลาดบรรจุภัณฑ์แก้วในประเทศไทยมีโอกาสเติบโตเป็น 84,500 ล้านบาทในปี 2565 คิดเป็นอัตราการเติบโต CAGR ที่ 3.2%
ที่มา: แบบแสดงรายการข้อมูลของบริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน), GlobalData Plc.
BCG มีโรงงานทั้งสิ้น 4 โรงงานด้วยกัน กำลังผลิตรวม 3,095 ตัน/วัน อัตราการใช้กำลังการผลิต 88.1%
1.บริษัท ปทุมธานีกล๊าส จำกัด (”PTI”) มีเตาหลอมแก้ว 3 เตา กำลังการผลิตรวม 560 ตัน/วัน
2.บริษัท ขอนแก่นกล๊าส จำกัด (“KGI”) มีเตาหลอมแก้ว 2 เตา กำลังการผลิตรวม 735 ตัน/วัน
3.บริษัท ปราจีนบุรีกล๊าส จำกัด (“PGI”)มีเตาหลอมแก้ว 1 เตา กำลังการผลิตรวม 180 ตัน/วัน
4.บริษัท อยุธยากล๊าส จำกัด (“AGI”) มีเตาหลอมแก้ว 4 เตา กำลังการผลิตรวม 1,620 ตัน/วัน
5.บริษัท ราชบุรีกล๊าส จำกัด (“RBI”) มีเตาหลอมแก้ว 1 เตา กำลังการผลิตรวม 400 ตัน/วัน (ยังไม่เปิดดำเนินงาน จะเริ่มเปิดดำเนินงานในปี 2561)
หากนับรวมกำลังผลิตของ RBI บริษัทจะมีกำลังการผลิตรวม 3,495 ตัน/วัน
ที่มา: แบบแสดงรายการข้อมูลของบริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน), GlobalData Plc.
แม้ในปี 2559 การเติบโตของรายได้จะมีการสะดุดไปบ้างจากการชะลอตัวลงของการบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม และเหตุการณ์พิเศษและการไว้อาลัยในช่วงเดือนตุลาคมต่อเนื่องจนถึงสิ้นปี 2559 ในปี 2560 รายได้กลับมาเติบโตอีกครั้งจากสภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น
รายได้ปี 2558 10,902 ล้านบาท
รายได้ปี 2559 10,151 ล้านบาท
รายได้ปี 2560 11,164 ล้านบาท
รายได้งวด 6 เดือนแรกของปี 2561 5,063 ล้านบาท
ที่มา: แบบแสดงรายการข้อมูลของบริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน)
ต้นทุนขายของ BGC แบ่งออกเป็นต้นทุนผันแปร 66.80%, ต้นทุนคงที่ 33.10% และอื่นๆ 0.10%
ต้นทุนผันแปรประกอบไปด้วยค่าวัตถุดิบ เช่น เศษแก้ว โซดาแอช ทรายแก้ว ค่าก๊าซธรรมชาติ (NG) ค่าก๊าซแอลพีจี
ต้นทุนคงที่ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการผลิต และค่าเสื่อมราคา
ที่มา: แบบแสดงรายการข้อมูลของบริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน), ข้อมูลต้นทุนขายงวด 6 เดือนแรกของปี 2561
เนื่องจากในปี 2560 ต้นทุนเศษแก้วและเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ส่งผลให้กำไรขั้นต้นและกำไรสุทธิปรับตัวลดลง
กำไรขั้นต้น
ปี 2558 1985 ล้านบาท
ปี 2559 1980 ล้านบาท
ปี 2560 1482 ล้านบาท
กำไรสุทธิ
ปี 2558 577 ล้านบาท
ปี 2559 617 ล้านบาท
ปี 2560 251 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม EBITDA อยู่ในระดับสูงตลอดเวลาแสดงถึงความแข็งแกร่งของกระแสเงินสด
ปี 2558 2,197.8 ล้านบาท
ปี 2559 2,161.2 ล้านบาท
ปี 2560 1,833.4 ล้านบาท
ที่มา: แบบแสดงรายการข้อมูลของบริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน)
แต่ล่าสุดในผลประกอบการงวด 6 เดือนแรกของปี 2561 กำไรกลับมาเติบโตสูงจากการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพและต้นทุนขายที่ต่ำลง
กำไรเติบโตจาก 121 ล้านบาทใน 1H2560 มาเป็น 270 ล้านบาทใน 1H2561 เติบโตสูงถึง 123% และมี EBITDA อยู่ที่ 1077.4 ล้านบาท จากที่ใน 1H2560 มี EBITDA ที่ 894.3 ล้านบาท
ที่มา: แบบแสดงรายการข้อมูลของบริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน)
-ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วรายใหญ่ที่สุดในไทย (เมื่อพิจารณาตามกำลังการผลิตโดยรวม)
-ลูกค้าและผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นบริษัทในเครือบุญรอดฯ หนึ่งในบริษัทเครื่องดื่มที่แข็งแกร่งที่สุดในไทย
-โอกาสในการเติบโตต่างประเทศไปใน CLMV
ที่มา: แบบแสดงรายการข้อมูลของบริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน)
เงินจากการระดมทุนจะใช้สำหรับการชำระเงินกู้ยืมสำหรับการขยายโรงงานบรรจุภัณฑ์แก้วแห่งใหม่ในจ.ราชบุรีและใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ
ที่มา: แบบแสดงรายการข้อมูลของบริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน)
ความเสี่ยงหลักที่นักลงทุนต้องติดตามหากต้องการลงทุนใน BGC
1.ราคาวัตถุดิบเช่น เศษแก้ว และราคาก๊าซธรรมชาติ ถ้าวัตถุดิบหรือพลังงานราคาขึ้นจะกระทบถึงศักยภาพการทำกำไรของบริษัทฯ
2.สภาวะการเติบโตของเศรษฐกิจไทย เนื่องจากลูกค้าหลักของ BGC คือบริษัทเบียร์ ซึ่งการบริโภคเบียร์มักจะอิงอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจเป็นหลัก ถ้าเศรษฐกิจดีคนก็ดื่มเบียร์เยอะ ใช้ขวดเบียร์เยอะตามเช่นกัน
3.การแข่งขันในประเทศของกลุ่มลูกค้า BGC อาจส่งผลให้ความต้องการขวดแก้วผันผวนได้
ที่มา: แบบแสดงรายการข้อมูลของบริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน)
-ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ BGC คือบางกอกกล๊าส ผู้ผลิตสินค้าและให้บริการหลากหลาย อาทิเช่นวัสดุก่อสร้างและพลังงานบริสุทธิ์
-BGC ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2517 ด้วยความร่วมมือของ Saint Gobain, ไทยน้ำทิพย์, บุญรอด, กรีนสปอต, สีลมการแพทย์, ธนาคารกรุงเทพ และกรุงเทพประกันภัย
-BGC เริ่มต้นจากการมีกำลังการผลิตเพียง 150 ตัน/วันในปี 2521 ปัจจุบันมีกำลังการผลิตสูงถึง 3,095 ตัน/วัน (ไม่รวมกำลังการผลิตของ RBI ซึ่งจะเริ่มดำเนินงานในปี 2561 จำนวน 400 ตัน/วัน)
-ราชบุรีกล๊าส อยู่ระหว่างการก่อสร้างและจะสามารถเริ่มต้นการผลิตได้ในไตรมาส 4 ปี 2561
ที่มา: แบบแสดงรายการข้อมูลของบริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน)