เจาะลึกหุ้น OSP กิเลนซ่อนลาย “โอสถสภา”

เจาะลึกหุ้น OSP กิเลนซ่อนลาย “โอสถสภา”

หุ้น OSP หรือบริษัทโอสถสภา เจ้าของเครื่องดื่มบำรุงกำลัง M-150 ชื่อดังที่เรารู้จักกันดีกำลังเตรียมการเพื่อนำหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ

แม้คนจะรู้จัก OSP ในฐานะผู้ผลิต M-150 แต่ความจริง OSP เป็นเจ้าของสินค้าดังอย่างเบบี้มายด์ และทเวลฟ์พลัสด้วย!
ในด้านของมูลค่าตลาดค้าปลีกภายในประเทศ OSP ก็เป็นผู้นำในสินค้าหลายๆตัว อย่างตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลัง OSP เป็นผู้นำทั้งในไทยและเมียนมาร์ สำหรับปี 2560
หุ้น OSP น่าสนใจยังไง? เหมาะกับนักลงทุนแบบไหน? จะมีปันผลรึเปล่า และกำลังเติบโตหรือไม่?
มาหาคำตอบในสรุปหุ้น OSP กิเลนซ่อนลาย “โอสถสภา” กันเลย

แอดมิน Buffettcode feat.โอสถสภา ไม่มีลิมิต ชีวิตเกินร้อยยยยยยยย !!

หุ้น OSP หรือโอสถสภาคือหนึ่งในบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำของประเทศไทยและภูมิภาค

แหล่งที่มา: OSP Filing, ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ผลิตภัณฑ์ของ OSP อยู่เคียงข้างคนไทยกว่า 60 ล้านคน เชื่อว่าหลายคนต้องเคยซื้อผลิตภัณฑ์ของโอสถสภามาแล้วบ้างแน่นอน

ล่าสุดในงวดหกเดือนปี 2561 OSP มีรายได้รวม 12,543.2 ล้านบาทและกำไรส่วนที่เป็นของบริษัท 1,444.4 ล้านบาท

แหล่งที่มา: OSP Filing, ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ล่าสุดในงวดหกเดือนปี 2561 OSP มีรายได้รวม 12,543.2 ล้านบาทและกำไรส่วนที่เป็นของบริษัท 1,444.4 ล้านบาท

แหล่งที่มา: OSP Filing, ลักษณะการประกอบธุรกิจ

หากเทียบรายได้ปี 2560 ระหว่างบริษัทที่ทำธุรกิจคล้ายกันเช่น SAPPE หรือ CBG จะเห็นว่า OSP มีรายได้สูงกว่ามาก

แหล่งที่มาของข้อมูลรายได้ของ SAPPE, CBG: SET, 56-1

ใน 1H61 OSP มีสินค้าเครื่องดื่มหลากหลายแบรนด์ โดยรายได้หลักๆมาจาก เอ็ม-150 ที่ 69.7%, ลิโพวิตัน-ดี 19.1%, ฉลาม 3.5%, เอ็มเกลือแร่ 1.4%, เอ็ม-สตอร์ม 1.3%, โสมอิน-ซัม 3.6%, กาแฟเอ็ม-เพรสโซ 1.1% และอื่นๆ 0.4%

แหล่งที่มา: OSP Filing, ลักษณะการประกอบธุรกิจ

รายได้ของโสมอิน-ซัม และซี-วิตมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด

รายได้โสมอิน-ซัมเติบโตจาก 90.2 ล้านบาทในปี 1H2560 มาเป็น 262.1 ล้านบาทใน 1H2561

ส่วนซี-วิตก็เติบโตมากเช่นกัน โดยโตจาก 336.8 ล้านบาทใน 1H2560 มาเป็น 487.9 ล้านบาทในปี 1H2561

แหล่งที่มา: OSP Filing, การวิเคราะห์และคำอธิบายของฝ่ายจัดการ

OSP เจ้าของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มบำรุงกำลังต่างๆ ซึ่งรวมไปถึง M-150, ลิโพวิตัน-ดี,ฉลามและ Shark มีส่วนแบ่งของตลาดค้าปลีกเครื่องดื่มบำรุงกำลังในประเทศไทยเมื่อพิจารณาจากปริมาณเป็นอันดับ 1 สำหรับปี 2560

แหล่งที่มา: รายงานวิเคราะห์ของฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน (Frost & Sullivan)

รายได้ 1H2561 ของ OSP มาจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเน้นที่ ASEAN ประเทศที่ส่งออกหลักคือเมียนมาร์ โดยมียอดส่งออกไปเมียนมาร์มากกว่า 1,524.6 ล้านบาท

แหล่งที่มา: OSP Filing, ลักษณะการประกอบธุรกิจ

OSP ได้ประโยชน์จากการเติบโตของตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลัง

ในเมียนมาร์ซึ่งมีมูลค่าตลาดค้าปลีกเติบโตเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีตั้งแต่ปี 2556-2560 (CAGR) สูงถึง 60.9% ต่อปี

แหล่งที่มา: รายงานวิเคราะห์ของฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิแวน (Frost & Sullivan)

ในเมียนมาร์ OSP ก็เป็นผู้นำตลาดเช่นกัน โดยมีเบอร์ 2

คือ TC Pharma ทั้งนี้ พิจารณาจากมูลค่าตลาดค้าปลีกในประเทศ สำหรับปี 2560

แหล่งที่มา: รายงานวิเคราะห์ของฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิแวน (Frost & Sullivan)

นอกจากเครื่องดื่มบำรุงกำลังแล้ว OSP ยังขายผลิตภัณฑ์แบรนด์ยอดนิยมที่คนไทยใช้กันในหลายวัยมาเป็นเวลากว่า 10 ปี เช่น เบบี้มายด์ และทเวลฟ์พลัส (เบบี้มายด์นี่ผม 30 แล้วยังใช้อยู่เลยนะ 555)

แหล่งที่มา: OSP Filing, ลักษณะการประกอบธุรกิจ

OSP มีรายได้หลักจากเครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์ รองลงมาคือของใช้ส่วนบุคคล และธุรกิจบริการบริหารด้านซัพพลายเชน (การผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าให้แก่บุคคลภายนอก ภายใต้กิจการร่วมค้า และสัญญาบริการผลิตสินค้า)

แหล่งที่มา: OSP Filing, ลักษณะการประกอบธุรกิจ

รายได้สำหรับปี 2560 ลดลงจากปี 2559 เนื่องจากปัจจัยหลายประการ

แหล่งที่มา: OSP Filing, การวิเคราะห์และคำอธิบายของฝ่ายจัดการ

แต่กำไรกลับไม่ค่อยตก และอัตราการทำกำไรสูงขึ้น

สะท้อนถึงการบริหารจัดการต้นทุนที่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัจจัยนี้เป็นอีกปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ต้องจับตามองของ OSP เลยทีเดียว

แหล่งที่มา: OSP Filing, การวิเคราะห์และคำอธิบายของฝ่ายจัดการ

โรงงานบรรจุและผลิตของ OSP ยังใช้กำลังการผลิตได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ หากมีการผลิตเพิ่มขึ้นจะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง ส่งผลให้กำไรมีโอกาสดีขึ้นได้อีก

แหล่งที่มา: OSP Filing, ลักษณะการประกอบธุรกิจ

จุดแข็งของ OSP

– เป็นผู้นำตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลังในประเทศไทยสำหรับปี 2560 ที่มีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง

– การบริหารจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้บริษัททำให้กำไรเติบโตได้และเพิ่มความมั่นคงในระยะยาว

– มีศักยภาพสูงในการบุกตลาด CLMV ที่มีการเติบโตสูง

-เครือข่ายการจัดจำหน่ายที่มีความเข้มแข็ง

-ทีมผู้บริหารที่มีความชำนาญและประสบการณ์ในอุตสาหกรรม FMCG

แผนงานของ OSP ในอนาคตหลัง IPO

– ลงทุนสร้างโรงงานเครื่องดื่มในเมียนมาร์ 2,424 ล้านบาท

– โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลประเภทแป้ง 167 ล้านบาท

– สร้างเตาหลอมแก้วใหม่ 1,800 ล้านบาท

ความเสี่ยงที่ต้องติดตาม

1.ความเสี่ยงเกี่ยวกับธุรกิจ

1.1 ราคาวัตถุดิบหลักต่างๆ เช่น น้ำตาล, เศษแก้ว

1.2 นโยบายรัฐบาล เช่นการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบหรืออัตราภาษี

1.3 การบริหารจัดการต้นทุนทำได้ดีต่อเนื่องหรือไม่?

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ OSP

– มีประวัติที่ยาวนานกว่า 127 ปีแล้ว

– เริ่มต้นจากการเป็นร้านขายยาเล็กๆ จนกลายเป็นอาณาจักร

– M-150 เป็นแบรนด์ไทย 100% มีสัดส่วนมูลค่าตลาดค้าปลีกเครื่องดื่มบำรุงกำลังสูงสุดทั้งในไทย,เมียนมาร์และลาวสำหรับปี 2560

– เครื่องดื่มบำรุงกำลังของ OSP ขายในร้านค้าแบบดั้งเดิมถึง 83.7% ของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสำหรับปี 2560