วันอังคารที่ 12 มีนาคม ที่ผ่านมาผมได้รับเชิญให้ไปร่วมงานเปิดตัวบริการใหม่ของ TMB ชื่อ TMB Smart Port ครับ ตอนแรกผมเองไม่ได้ตื่นเต้นอะไรมากนักเพราะที่ผ่านมา ธนาคารหลายๆธนาคารเปิดตัวบริการส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยว้าวเท่าไหร่ ว้าวครั้งสุดท้ายตอนยกเลิกค่าธรรมเนียมโอนเงินในแอปเนี่ยแหละ ที่ผมรู้สึกว่า เออมันน่าจะยกเลิกมาตั้งนานแล้วนะ !
แต่พอมาฟัง TMB Smart Port คำแรกที่โผล่ขึ้นมาในหัวผมเลยคือ “กล้ามาก” TMB กล้าจริงๆที่จะไม่คิดค่าธรรมเนียมจากการให้บริการจัดพอร์ตลงทุนในกองทุนรวม รู้ใช่ไหมครับว่าค่าธรรมเนียมจากการขายกองทุนเนี่ยแหล่งเงินแหล่งทองของธนาคารเลยทีเดียว บอกกันตามตรงครั้งแรกผมไม่เชื่อนะ คิดอยู่ในใจเลยว่าต้องมีอะไรแฝงแน่ๆ แต่ผิดคาดครับรอบนี้ TMB มาจริงๆ TMB Smart Port น่าใช้มั้ย? ผมสรุปมาให้ตามนี้เลยครับ

TMB Smart Port แผน Conservative, Balanced, Advanced และ Aggressive ทำผลตอบแทนชนะ MSCI AC World Index
TMB Smart Port ทำอะไรให้กับนักลงทุนบ้านๆอย่างผมได้บ้าง?
- บริการจัดพอร์ตกองทุนรวมให้เป็นแผนๆ โดยมีแผนให้เลือกถึง 5 พอร์ตโมเดลตามระดับความเสี่ยงที่เราต้องการซึ่งถือว่าครอบคลุมนักลงทุนหลายๆประเภทพอสมควร
- ไม่เก็บค่าธรรมเนียมซื้อ-ขาย มีแค่ค่าบริหาร (Management Fee) ที่ 0-1.0% ต่อปี ตามระดับพอร์ตโมเดลแถมไม่เก็บตอนซื้อนะครับไปเก็บค่าบริหารตอนขาย
- ปรับพอร์ตให้โดยมืออาชีพอย่างน้อยทุกไตรมาส ถ้ามีเหตุการณ์ตลาดที่มีนัยสำคัญปรับทันที เช่นพวกวิกฤตอะไรงี้ก็ถือว่าเป็นกลยุทธการปรับพอร์ตที่มีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์พอสมควร
- ดูข้อมูลพอร์ตกองทุนผ่าน TMB TOUCH Mobile Application และในอนาคตจะซื้อ-ขาย สมัครใช้บริการผ่านแอปได้ด้วย ก็สะดวกดีไม่ต้องไปสาขา (แต่ยังต้องไปเปิดพอร์ตที่สาขานะครับ)
- เงินลงทุนขั้นต่ำ 100,000 บาท นักลงทุนรายเล็ก มือใหม่ ลงทุนกันได้สบายครับ
โดยรวมแล้วถือว่าน่าสนใจสำหรับผมที่เป็นนักลงทุนสายหุ้น เรียกได้ว่าบู๊ล้างผลาญสุดๆผมมีพอร์ตการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ กองทุนต่างประเทศผมก็มี แล้วส่วนใหญ่ผมมักจะถือหุ้น 100% ด้วยเรียกได้ว่าชีวิตต้องเผชิญกับความเสี่ยงตลอด
ที่ผ่านมาผมกำลังมองหาคนมาช่วยดูแลเงินผมช่วงที่ผมเอาเงินออกมาพักไว้นอกพอร์ตบ้าง ต้องการลดความเสี่ยงของพอร์ตแต่ไม่อยากหยุดลงทุนบ้าง ซึ่งถ้าผมจะเอาไปใส่ในออมทรัพย์ก็ยังไงอยู่เพราะดอกเบี้ยไม่พอกับเงินเฟ้อด้วยซ้ำไป
“จะมานั่งเลือกกองทุนพักเงินที่ผลตอบแทนไม่มากก็ไม่ค่อยชอบครับ รู้สึกว่ามันเสียเวลา”
ผมอยากเอาเวลาผมไปวิเคราะห์หุ้นประเมินราคาหุ้นมากกว่า ด้วยเหตุผลดังกล่าวเลยทำให้ TMB Smart Port น่าสนใจเพราะน่าจะตอบโจทย์ผมได้ในมุมนี้
พอฟังงานเปิดตัวเสร็จอีก 2 วันถัดมาผมเลยไปลองเปิดบัญชี TMB Smart Port ที่ TMB Flagship store ตรงตึก United Center แถวสีลมครับ น่าเสียดายที่ยังเปิดในแอปเลยไม่ได้ อันนี้ต้องขอตัดแต้มนิดนึงวัยรุ่นใจร้อนครับ…..

เปิดบัญชีที่สาขาแล้วที่เหลือก็มาดูพอร์ตกองทุนใน TMB TOUCH ได้เลยครับ
เรื่องต้องติผมก็ติตามเนื้อผ้าครับ แต่ที่ต้องชมก็คือถึงผมต้องมาเปิดบัญชีที่สาขา ก็ต้องชมว่า TMB เขาออกแบบสาขา Flagship ที่เอาไว้เน้นให้คำปรึกษาเรื่องการลงทุนโดยเฉพาะไว้สวยและสบายมากๆครับ ถึงไม่ได้เป็นเล้าจน์แบบที่ธนาคารอื่นเขามีกันแต่ก็ต้องบอกว่าเรื่องความสวยงามและความสะดวกสบายไม่แพ้เล้าจน์เลยนะครับ ที่ TMB ไม่ต้องมีเงินหลัก 10 ล้าน 100 ล้าน ไม่ต้องถือ Wisdom, Prime, Private Banking หรือ Prestige อะไรทั้งสิ้นนะครับ (ขอแอบแซวนิดนึงนะ 555)
“มีแสนเดียวก็มารับบริการจัดพอร์ตกองทุนแบบชิคๆได้แล้วครับ”

หน้าตาสาขา Flagship ของ TMB ครับ ดูๆไปก็แอบคล้ายเล้าจน์อยู่เหมือนกัน
มาถึงที่ TMB Flagship store เจอกับพี่จุ๊ (นามสมมุติ) คนเดิมที่ผมเคยซื้อ TMBCORMF เมื่อปลายปีที่แล้ว พี่เขาก็ช่วยพาเปิดบัญชีเสร็จใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที ก็ถือว่ากลางๆ เปิดที่ไหนก็ใช้เวลาประมาณนี้ครับ อันนี้ตัวบริการยังใหม่ถ้าอีกหน่อยระบบเริ่มเข้าที่เข้าทางคงเร็วกว่านี้ครับ ยังดีที่ TMB Smart Port เป็นบริการปรับพอร์ตกองทุนโดยมืออาชีพก็เลยทำเรื่องเอกสารครั้งเดียวแล้วที่เหลือไม่ต้องทำแล้วครับ

ระหว่างเปิดบัญชีทีมงาน TMB Smart Port มีการเสิร์ฟกาแฟน่ารักๆด้วยครับ
มาถึงการเลือกพอร์ตทาง TMB จะให้ที่ปรึกษาการลงทุนช่วยพาเราไปเล่นเกมส์สั้นๆเพื่อให้คอมฯประมวลผลให้ว่าเราควรจะลงทุนพอร์ตโมเดลไหน แน่นอนครับพอร์ตที่ผมได้คือความเสี่ยงระดับสูงสุด 555 สายหุ้นก็แบบนี้ล่ะนะ ผมเลยต้องบอกพี่ที่ปรึกษาว่า พอร์ตที่ผมต้องการคือพอร์ตแบบเสี่ยงต่ำเพราะผมเอาไว้พักเงิน และสร้างความสมดุลให้กับการพอร์ตลงทุนหุ้นหลักของผมนั่นเองครับ แต่ก็ถือว่าผลที่ได้เป็นประโยชน์และสะดวกดีครับสำหรับคนทั่วๆไปที่ไม่ได้ลงทุนด้วยตัวเองครับ
TMB Smart Port มีพอร์ตลงทุนทั้งหมด 5 พอร์ตโมเดล พอร์ตที่ผมเล็งไว้คือพอร์ตความเสี่ยงระดับหนึ่ง Risk Averse ที่ให้ผลตอบแทน 1.78% และพอร์ต Conservative ที่ให้ผลตอบแทน 3.08% ครับ ทั้งสองพอร์ตค่อนข้างมีความเสี่ยงที่ต่ำแต่ก็มีความแตกต่างกันมากพอสมควร แต่เพื่อให้ข้อมูลที่ครบถ้วนผมขอทำเป็นภาพสรุปรูปแบบการจัดพอร์ตของทั้ง 5 แผนไว้ประมาณนี้ครับ

แต่ละพอร์ตเหมาะกับนักลงทุนที่มีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน คนที่รับความเสี่ยงได้มาก หรือชอบความเสี่ยง แต่ไม่มีเวลามาติดตามตลาด ต้องการผลตอบแทนสูงๆก็ไปพอร์ต Aggressive หรือ Advanced เลยครับให้ผลตอบแทนคาดหวังประมาณ 7.74% และ 5.37% ตามลำดับ
ส่วนคนที่อยากได้อะไรที่เซฟๆ ปลอดภัยๆไม่ต้องผลตอบแทนสูงมากขอหัวใจไม่วาย หรืออยากเอาไว้พักเงิน สร้างสมดุลให้พอร์ตการลงทุนโดยรวมแบบผมก็เลือกพอร์ต Risk Averse (ผลตอบแทนคาดหวัง 1.78%), Conservative (3.08%) หรือ Balanced (4.14%) ก็ดีถ้าคุณเป็นคนที่ไม่ได้มีการลงทุนอยู่แล้วครับ
โดยรวมถือว่า TMB Smart Port เป็นบริการที่น่าสนใจ ไหนจะมีขั้นต่ำในการเริ่มลงทุนเพียง 100,000 บาท (เทียบกับธนาคารส่วนใหญ่ที่ 1 ล้านบ้าง 5 ล้านบ้าง) ตรงนี้ถือว่า TMB Smart Port เป็นบริการที่คนส่วนใหญ่ใช้กันได้แทบจะทุกคนแหละครับ
“TMB ยังเป็นธนาคารแรกของประเทศไทยด้วยที่เปิดให้บริการจัดพอร์ตกองทุนครบวงจรโดยสามารถดูพอร์ตกองทุนของคุณเองผ่านโมบายล์แอปพลิเคชัน”
ก่อนหน้านี้ TMB ก็เคยเปิดให้บริการโอนเงินผ่านแอปแบบไม่คิดค่าธรรมเนียมเป็นธนาคารแรกมาแล้ว รอบนี้กลับมาสร้างบริการดีๆให้กับนักลงทุนไทยน่าชื่นชมจริงๆครับ
อย่างไรก็ตามการที่ TMB Smart Port “กล้า” ออกมาให้บริการแบบนี้มันก็มีสิ่งที่ผมเคยสงสัยและเพื่อนๆหลายคนๆก็อาจจะสงสัยอยู่เหมือนกัน ผมขออธิบายตามความเข้าใจของผมไว้เป็นประเด็นๆตามนี้ครับ
TMB Smart Port ปรับพอร์ตทุกๆ 3 เดือนบ่อยไปไหม?
ส่วนตัวถ้าเป็นพอร์ตหุ้นผมชอบปรับปีละ 1-2 ครั้งครับ TMB Smart Port ปรับพอร์ตปีละ 3-4 ครั้งแต่ปรับครั้งละนิดๆหน่อยๆให้สถานะพอร์ตยังอยู่ในกรอบความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ในมุมมองของผมซึ่งชอบลงทุนระยะยาว แต่ถ้าเทียบกับอุตสาหกรรมทั่วๆไปและการเป็นพอร์ตกองทุนไม่ใช่หุ้น ผมว่าประมาณนี้ก็เหมาะสมอยู่ครับ อย่างไรก็ตามการปรับพอร์ตของ TMB Smart Port จะไม่ปรับพร่ำเพรื่อและไม่ใช่การปรับทั้งพอร์ตก็สบายใจได้ครับ เพราะ GDP เองก็ประกาศไตรมาสละครั้งเหมือนกันก็ถือว่า Match กันพอดี แต่ที่สำคัญคือการปรับพอร์ตแต่ละครั้งผู้ลงทุนไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด เพราะค่าบริหาร 0-1.0% เป็นการเก็บต่อปีนะครับ ดังนั้นผมไม่ติดอะไรกับตรงนี้ครับ
TMB Smart Port ไม่เก็บค่าธรรมเนียมซื้อ-ขาย มีแต่ค่าบริหาร 0-1.0% แล้ว TMB เอาอะไรกิน?
ค่าบริหาร 0-1.0% นับว่าไม่น้อยนะครับ ถ้า TMB Smart Port สามารถบริหารจัดการพอร์ตให้เติบโตได้ TMB ก็จะได้ค่าบริหารจัดการเพิ่ม ถือว่า Win-Win ทั้งคนลงทุนและทั้ง TMB นอกจากนั้นค่าธรรมเนียมซื้อ-ขายส่วนใหญ่แล้วมักจะไปตกที่คนขายกองทุนเป็นค่าคอมฯครับ ธนาคารไม่ค่อยได้ ดังนั้นพอ TMB Smart Port เป็นการให้บริการจัดพอร์ตกองทุนก็น่าจะใช้คนขายน้อยลงจนถึงไม่ใช้เลย สุดท้ายแล้วรายได้ที่ตกไปถึงธนาคารอาจจะลดลงนิดหน่อย หรือไม่ลดเลยก็เป็นไปได้ครับ

ตัวอย่างการคำนวณค่าธรรมเนียมการจัดการ
พอลงครั้งแรก 100,000 แล้ว ครั้งถัดไปจะเพิ่มพอร์ตต้องลงเพิ่มอีกเท่าไหร่?
สามารถลงเพิ่มได้อีกครั้งละ 10,000 บาทขึ้นไปเองครับ ถือว่าแฟร์ๆ เพราะพอร์ตการลงทุนของ TMB มีกองทุนประมาณ 10-15 กอง ถ้าเราไปแยกลงเองก็ต้องเจอให้เพิ่มครั้งละ 1,000 บาท 15 กองก็ 15,000 ดังนั้นการเพิ่มครั้งละ 10,000 บาทถือว่าตามเกณท์ครับ
ถ้าพอร์ตการลงทุนลดต่ำกว่า 100,000 แล้วอยากขายทำไง?
ในกรณีนี้ต้องขายออกทั้งหมดครับ
หวังว่าเพื่อนๆจะได้ข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจใช้บริการ TMB Smart Port นะครับ ทั้งหมดนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผมกับการใช้บริการ TMB Smart Port ซึ่งเป็นบริการใหม่ยังคงต้องใช้เวลามาพิสูจน์พอสมควรเหมือนกันว่าในระยะยาวจะดีหรือไม่? อย่างไรก็ตาม TMB ถือเป็นอีกธนาคารหนึ่งที่มีการบริการจัดการกองทุนได้ผลตอบแทนดี มีกองเด็ดๆหลายกอง ถ้าใครสนใจลงทุนกับ TMB Smart Port ก็เข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tmbbank.com/tmbadvisory/tmbsmartport
แล้วมาตามดูกันครับว่าสุดท้ายผมเลือกลงทุนในพอร์ตไหน อีกซัก 2-3 เดือนผลประกอบการของ TMB Smart Port ของผมจะเป็นอย่างไร? ถึงตอนนั้นเดี๋ยวผมมาเขียนแชร์ประสบการณ์เล่าให้ฟังกันเพิ่มเติมครับ ส่วนตอนนี้ผมต้องขอบอกว่า So Far, So Good ครับ